สัญญาต้องเป็นสัญญา กับ Freedom of Contract ในยุคทุนนิยม

💚💚 สัญญาต้องเป็นสัญญา (pacta sunt servanda) เป็นหลักการที่มีมาตั้งแต่สมัยโรมันยังรุ่งเรือง หลักการคือ เมื่อสัญญาได้เกิดขึ้นแล้วภายใต้หลักสุจริต(เข้าทำสัญญากันโดยไม่มีเจตนาร้ายแอบแฝง) คู่กรณีก็ต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ก่อขึ้น มิฉะนั้นก็จะเป็นการผิดสัญญา

🎈🎈🎈เสรีภาพในการทำสัญญา (freedom of contract) เป็นหลักการของคุณ Adam Smith ผู้มีแนวคิดเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม โดยหลักการมีอยู่ว่า ทุกคนมีเสรีภาพในการเข้าทำสัญญาใด ๆ ก็ตาม โดยไม่ถูกบุคคลภายนอกแทรกแซง แม้กระทั่งรัฐก็แทรกแซงไม่ได้ ซึ่งเป็นหลักที่มาจากพื้นฐานความคิดที่ว่าประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน จะเข้าทำสัญญาในรูปแบบใดก็ได้เพราะในการเข้าทำสัญญาแต่ละครั้งต่างฝ่ายต่างคิดไตร่ตรองดีแล้ว สัญญานั้น ๆ จึงย่อมเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย 🙄🙄🙄

แต่ในความเป็นจริงแล้วด้วยปัจจัยต่าง ๆ คนเราไม่ได้เท่าเทียมกันเสมอไป หากไม่มีกฎหมายคุ้มครองก็อาจมีการเอาเปรียบกันได้ เช่น เหล่าผู้ประกอบอาจจะรวมกลุ่มกันฮั้วราคาสินค้าและจำกัดความรับผิดของตน ผู้จะซื้อจะไปหาสินค้าที่อื่นก็ไม่ได้ เพราะผู้ประกอบการฮั้วกันไปหมด เช่นนี้ ผู้จะซื้อที่ไร้ซึ่งอำนาจต่อรองก็จำต้องรับสินค้ามาทั้ง ๆ ที่รู้ว่าตัวเองกำลังโดนเอาเปรียบ 🤔🤔🤔

หลักเสรีภาพในการทำสัญญาจึงเป็นไปได้เฉพาะในสังคมที่มีความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง ในโลกที่ระบบทุนนิยมนั้นเป็นใหญ่ มันยากมากที่จะปล่อยให้บังคับใช้หลักการทั้งสองอย่างเต็มที่ รัฐจำต้องเข้ามาควบคุมและแทรกแซงบางอย่าง เพื่อปกป้องและคุ้มครองคนบางกลุ่มไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ดังเช่น กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น 🙂🙂🙂

🧐🧐🧐 เมื่อกลับมามองเรื่องของการซื้อขายห้องชุด ถ้าเรานำหลักเรื่อง “สัญญาต้องเป็นสัญญา” และ “เสรีภาพในการทำสัญญา” มาบังคับใช้อย่างเต็มที่ การซื้อขายแต่ละทีเหล่าผู้บริโภคอาจหืดขึ้นคอ เพราะแม้จะมีสิทธิเลือกหาโครงการที่ตัวเองถูกใจ แต่ก็อาจจะต้องพบกับข้อสัญญาต่างๆที่ทำให้เราเสียเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นการขายของไม่ตรงปกแต่บังคับเราให้ยินยอมการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า การปัดความรับผิดชอบเรื่องความชำรุดบกพร่อง รวมไปถึงการบังคับให้รับโอนทั้ง ๆ ที่ยังทำห้องไม่เรียบร้อยด้วยซ้ำ 😫😫😫

🎈🎈🎈เพราะเหตุนี้เองจึงได้มีการออกกฎหมายมามากมายเพื่อกำกับดูแลและคุ้มครองการเข้าทำสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายพื้นฐานอย่างประมวลแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดว่าข้อตกลงใดที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีย่อมตกเป็นโมฆะ มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและกฎหมายอาคารชุดที่ออกมาควบคุมการโฆษณาห้องชุดที่เกินจริง รวมไปถึงมีการกำหนดให้สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดนั้นต้องเป็นไปตามแบบ ข้อความที่ต่างออกไปและไม่เป็นธรรมต่อผู้จะซื้อนั้นย่อมโมฆะไป 🏆

อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายจะคุ้มครองผู้ซื้อระดับหนึ่ง แต่ถ้าผู้ซื้อจงใจไม่ปฏิบัติตามสัญญาและไม่สุจริตต่อคู่สัญญาแล้ว ผู้ซื้อเองก็ยังมีหน้าที่ต้องทำตามสัญญาอยู่ดี และการที่ผู้ซื้อผิดสัญญาก็จะเกิดผลเสียกับตัวผู้ซื้อซะเอง ดังนั้นแล้วผู้ซื้อก็ยังคงจำต้องไตร่ตรองให้ดีก่อนซื้อเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 😉😉😉

แอดฯ ทนาย R 👦🏻👦🏻👦🏻

💖💖💖 ทนายบ้าน และคอนโด 💖💖💖
“ดูแลคุณด้วยใจ ปกป้องสิทธิให้คุณด้วยกฏหมาย”

Scroll to Top