กู้ไม่ผ่าน เปลี่ยนใจ เรียกคืนเงินดาวน์ได้

กู้ไม่ผ่าน เปลี่ยนใจ โครงการยึดเงิน เราเรียกเงินคืนให้คุณได้ …อย่างไร? สัญญาก็ระบุชัดๆ ว่า ยึดทั้งหมด ไม่คืนสักบาทเดียว แต่เดี๋ยวก่อน มันคือสัญญาไม่เป็นธรรม เงินดาวน์เป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้า ยึดไม่ได้ อายุความ 10 ปี

ชีวิตหนึ่ง กว่าจะตัดสินใจซื้อบ้าน คอนโด สักชิ้น ต้องผ่านการคิดไตร่ตรอง มีแฟนก็หวังสร้างรังรักน้อยๆ ร่วมยื่นกู้ บางคนลงทุนให้ลูกหลาน เอาเงินที่เก็บหอมรอมริด วางเงิน ยื่นกู้หวังให้ลูกหลานมีที่อยู่อาศัย หรือเก็บดอกผล ระยะยาว

แต่ฟ้าดินยังราคิน สถานการณ์ชีวิตอาจพลิกผัน ไม่เป็นใจ ถึงทางตัน ไม่มีทางออก แฟนอาจร้างลา เกิดโรคระบาดโควิด ตกงาน ถูกบังคับให้ลาออก ปรับลดเงินเดือน อาชีพที่มั่นคง เกิดสั่นคลอน นักบินไม่ได้บิน นางฟ้า เทพบุตรตกสวรรค์ ธนาคารไม่ปล่อยกู้ กู้ไม่ผ่าน ถึงผ่าน ก็ไม่มีเงินผ่อน รายได้ลด ค่าใช้จ่ายคงที่ หรือกลับเพิ่ม ลูกร้องไห้ ไม่มีนมกิน ค่าเทอมไม่มีจ่าย และที่สำคัญ

เงินที่วางไปหลักแสน หลักล้าน กำลังจะหายแวบ ไปในพริบตา!!!

แต่ไม่ต้องกังวล “ทนายบ้านและคอนโด” ช่วยคุณเรียกเงินคืนได้!!!

ทำไม เราเรียกเงินคืนให้คุณได้ ทั้งที่สัญญาระบุว่า “ริบทั้งหมด” ไม่คืนสักบาทเดียว?

1) เพราะมันคือ สัญญาไม่เป็นธรรม เขียนไปเถอะครับ ในสัญญา ว่า ยึดเงินทั้งหมด ทั้งหมด ทั้งสิ้น ห้ามทวงคืน ห้ามไปฟ้องศาลนะจ๊ะ!! ตรวจได้ครั้งเดียว ไม่มาตรวจ ถือว่ารับแล้ว ต้องมาโอน ไม่มาโอน โดนริบเงิน ทั้งหมด!! มันมีผลบังคับใช้ที่ไหน?

สมาชิกทุกท่าน ควรทราบว่า ราชอาณาจักรไทย ถึงจะยึดหลัก Freedom of Contract อิสรภาพในการทำสัญญา แต่เรามีบูรณาการด้านกฏหมายเหนืออารยะประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาจากความโลภ จ้องเอารัดเอาเปรียบ โดยไม่มีหิริโอตัปปะของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในอดีต ชาวบ้านประชาชีก่นด่ากันหนัก จนรัฐบาลต้องกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายสำหรับโครงการจัดสรรอสังหาริมทรัพย์ต่างๆขึ้นมา เรียกว่า แบบสัญญาจะซื้อจะขายมาตรฐาน แบบ ก. สำหรับที่ดิน, แบบ ข. สำหรับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน, บ้านแฝด, ห้องแถว, อาคารพาณิชย์ ตาม #ประกาศคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง เรื่อง กำหนดแบบมาตรฐานของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร# ประกาศวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2545, และที่สำคัญ แบบสัญญาจะซื้อจะขายมาตรฐานสำหรับห้องชุด ตาม #ประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดแบบสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.๒๕๒๒# ประกาศลงราชกิจจาณุเบกษา วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

หากข้อไหน เพิ่มเติมทำให้ผู้จะซื้อ หรือผู้บริโภคเสียประโยชน์ เช่น ยึดเงินทั้งหมด, บังคับตรวจได้ครั้งเดียว, โอนแล้วค่อยซ่อม, มีค่าเปลี่ยนสัญญา ฯลฯ ล้วนเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับใช้ แต่หากในสัญญาระบุ ข้อความที่ผู้จะซื้อ หรือผู้บริโภค ได้ประโยชน์ หรือไม่ได้ระบุ แต่มีในคำโฆษณา อุปกรณ์การตลาด ใบปลิว หรือคำบอกกล่าวจากพนักงานขาย แม้ไม้ได้ระบุในสัญญา แต่เป็น “สัญญาไร้รูปแบบ” จะมีผลบังคับใช้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา

2) เพราะคำพิพากษาศาลฎีกา บอกว่า “ยึดไม่ได้” … เงินดาวน์ไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเกิดหลังสัญญาจะซื้อจะขายได้ทำแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้า เมื่อเลิกสัญญาต่อกัน ต้องคืน ริบทั้งหมดไม่ได้ และถ้า มัดจำนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะปรับลดก็ได้ ให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้

3) เพราะมันมีอายุความ 10 ปี … ต่อให้ถูกยึดไปนานแล้ว ด้วยความรู้ไม่เท่าทัน แต่คุณยังสามารถเรียกเงินที่คุณเคยเสียไปได้ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 2551 มาตรา 3 กล่าวว่า “คดีผู้บริโภค เป็นคดีแพ่ง” จึงต้องนำเอาอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับใช้โดยอนุโลม ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ระบุว่า “อายุความนั้น ตามประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดระยะเวลา 10 ปี”

สนใจให้เราเรียกเงินคืน Inbox ปรึกษาเบื้องต้น “ฟรี” หรือ นัดหมายปรึกษาผ่านระบบ Zoom

ทนายบ้านและคอนโด
ตัวจริง…รู้จริง เรื่องกฎหมายอสังหาริมทรัพย์
ดูแลคุณด้วยใจ ปกป้องสิทธิให้คุณด้วยกฎหมาย

Line ID : @housecondolawyer

รับประกัน ชนะไหม ถ้าไม่ได้เงินคืน คืนค่าว่าความ หรือไม่?

สมาชิกหลายท่านที่เข้ามาปรึกษากับทีมทนายบ้าน และคอนโด มาหลากหลายอารมณ์ ประมาณ “ทำไม ทนายบ้านและคอนโด ไม่เชียร์มวย ไม่ยืนยัน ไม่ฟันธง ชนะชัวร์ไหม? ชำนาญ Developer รายนี้ หรือเปล่า? เคยมีคดีกับ Developer รายนี้ไหม? ทำไม ทนายคนอื่นบอก ต้องเป็นเขาที่เคยมีคดีชนะ Developer รายนี้เท่านั้น ถึงจะทำคดีได้ คนอื่นไม่มีทาง เพราะ Developer รายนั้นเขี้ยว ยัยป้าโครงการนี้ไม่ยอม แต่ชั้นชนะมาแล้ว

เอาตรงๆ ง่ายๆ เลยครับ “มันผิดจรรยาบรรณ และมรรยาททนายความ” เราไม่สามารถอวดอ้างว่า จะทำให้ชนะคดีความ รับประกันผล หรือมีความสามารถเหนือผู้อื่น อยู่ที่ศาลวินิจฉัย เราไม่อาจก้าวล่วง …ในความเป็นจริง เคสลักษณะนี้ ส่วนมาก จะไม่มีผู้แพ้ หรือผู้ชนะ Developer คืนเงินดาวน์ แต่ยึดเงินจอง, ผู้จะซื้อเสียค่าปรับบางส่วน แต่ได้เงินดาวน์คืน, ประนีประนอมยอมความ ดังนั้น เราจึงไม่เคย “ตีกิน” ใช้ประโยคแบบนี้ มาอวดอ้าง อิทธิฤทธิ์ ศักดาภินิหาร แต่อย่างใด เราทำงานกฎหมาย ตรงไปตรงมา บอกรายละเอียดให้ลูกความ ตามจริง

ที่แอดฯ บอกได้ คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า ตั้งแต่ทนายบ้านและคอนโดรับเคสมา ยังไม่เคยมีเคสไหนที่ไม่ได้รับเงินคืน มีขึ้นชั้นอุทธรณ์บ้าง เป็นปกติ และจากประสบการณ์ ถ้าทนายไม่ได้เขียนคำร้องผิด copy & paste แบบไม่ดูตาม้าตาเรือ จนโดนยกคำร้อง (รายที่เห็นรับประกัน แบบไม่สนมรรยาท นั้นแหละ นอกจากไม่คืน ยังเรียกเก็บเพิ่มด้วย) ก็เห็นได้คืนทุกราย

ถ้าสมาชิกไม่มั่นใจ อยากให้ ทนายบ้าน และคอนโด คืนค่าว่าความ ถ้าหากไม่ได้รับเงินคืนเลย ก็ยินดีครับ แจ้งทนายที่ได้รับมอบหมายได้เลย

จะได้เงินคืนเท่าไหร่?

คำพิพากษาเป็นดุลยพินิจของศาล เราไม่รู้ หรืออาจก้าวล่วงได้ แต่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐานว่า ในส่วนของเงินดาวน์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้า เมื่อไม่มีการโอน หรือส่งมอบ ย่อมต้องกลับสู่สภาพเดิม หรือคืนให้ผู้จะซื้อ ไม่อาจยึดได้ ไม่ว่ากรณีใด อาจมีค่าปรับบ้าง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

แต่หากผู้จะขายเป็นฝ่ายผิดสัญญา เช่น ล่าช้า สร้างไม่ตรงตามแบบ ผิด spec, ทางผู้จะซื้อ สามารถเรียกเงินคืนได้ทั้งหมด พร้อมดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายเสียเวลา หรือโอกาส

หากแต่ในทางปฏิบัติ อาจมีการไกล่เกลี่ย เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาในการพิจารณาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ และฎีกา จำนวนมูลค่าที่ได้คืน จะอยู่ที่ความพึ่งพอใจของตัวความ หรือโจทก์ ทนายความมีหน้าที่แนะนำ และทำตามความประสงค์ของตัวความ

ค่าใช้จ่าย ค่าบริการ

ด้วย “ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยเรื่องมรรยาททนายความ ปี 2522 หมวดที่ 4 ข้อ 17 ที่ห้ามโฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นประกาศโฆษณาใดใด ถึงอัตราค่าจ้างว่าความ “ ทางเพจทนายบ้าน และคอนโด จึงไม่สามารถแจ้งอัตราค่าบริการบนเพจเราได้ ขอให้สมาชิก Inbox สอบถามเป็นรายกรณี และขอให้สมาชิก มั่นใจว่า เป็นอัตรามาตรฐาน และเราพร้อมปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับรูปคดี และความจำเป็นของลูกความ

ระยะเวลาดำเนินการ

โดยปกติ คดีผู้บริโภคจะถูกวางให้มีการพิจารณาและดำเนินการอย่างรวดเร็ว หากนับระยะเวลา หลังส่งจดหมายบอกเลิกสัญญา จะใช้เวลา 2-3 เดือน แต่ด้วยภาวะโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ศาลเลื่อนพิจารณาคดีออกไป ซึ่งทำให้ระยะเวลาขยายออกไปอีก คาดว่า ประมาณอีก 3 เดือน (กำหนดการแน่นอน โปรดสอบถาม กับทนายความ เมื่อยื่นคำร้องต่อศาล) ดังนั้น หากท่านสมาชิกมีความเดือดร้อน โปรดรีบตัดสินใจดำเนินการ

ทำไม ต้องเป็นทนายบ้าน และคอนโด?

ด้วยประสบการณ์ด้านอสังหาริมทรัพย์ และทนายความที่ว่าความ กว่า 10 ปี อสังหาฯ ผ่านมือมา นับพันคดี มูลค่าหลักหลายพันล้าน หลายคดีในนั้น เราสู้ให้ถึงที่สุด อุทธรณ์ ไม่รับฎีกา จนได้เงินคืนพร้อมค่าปรับ 10 กว่าล้าน เราอยู่กับลูกความจนถึงที่สุด ขอให้เราเป็นหนึ่งในตัวช่วย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของคุณ

  • เรามีสำนักงานเป็นหลักแหล่ง มีพนักงาน ทนายความทำงานประจำ สามารถตรวจสอบ และเข้าถึงได้
  • ทนายบ้านและคอนโด เปิดเผย มีหัวจดหมาย และชื่อกำกับทุกครั้งในเอกสาร มีตัวตน รับผิดชอบต่อคดี และลูกความ
  • เราศึกษา ดูทุกรายละเอียด ก่อนวางรูปคดี มีการตรวจสอบเอกสาร คำร้อง และส่งให้ลูกความตรวจสอบก่อน ทุกครั้ง
  • เรามีจรรยาบรรณ ไม่รับเคสซ้อน หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งโจทก์ และจำเลย พร้อมกัน

ให้ทนายว่าความ vs สคบ.

การดำเนินการโดย สคบ. โดยปกติ มีระยะเวลาดำเนินการที่ยาวนาน 5-6 เดือน ไม่มีอำนาจสั่งการ หรือบังคับให้ผู้พัฒนาโครงการปฏิบัติตามได้ มีเพียงอำนาจเรียกมาไกล่เกลี่ย และฟ้องร้องแทน หากผู้พัฒนาโครงการ หรือผู้ผลิต มีความผิดจริง ละเมิดผู้บริโภคอย่างชัดเจน แต่หากผู้บริโภคเป็นผู้ผิดสัญญา หรือ สคบ. ไม่เห็นว่า ผู้พัฒนาโครงการ หรือผู้ผลิต มีความผิดชัดแจ้ง จะไม่ดำเนินการฟ้องแทน และให้ผู้บริโภคไปดำเนินการต่อเอง (ไปฟ้องเอาเอง ว่างั้น กว่าจะบอกเสียเวลา) ดังเช่น ผู้บริโภคกู้ไม่ผ่าน แล้วจะเรียกเงินคืน เป็นต้น

รายละเอียดเพิ่มเติม:

รู้ยัง…เรื่องที่ สคบ. ไม่รับร้องเรียน ไม่ต้องเสียเวลา ….เข้าใจตรงกัน
https://www.facebook.com/housecondolawyer/posts/278034487081496

แนวปฎิบัติของ สคบ. คนซื้อบ้าน รู้ไว้ ไม่เสียเวลา!!
https://www.facebook.com/housecondolawyer/posts/231164285101850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

ผู้จะซื้อผิดสัญญา มีสิทธิได้เงินคืนไหม? – กู้ไม่ผ่าน โควิด-19 ทำให้ตกงาน สารพัดปัญหา ทำให้ ไม่มีความสามารถโอน กู้ หรือผ่อนชำระ (คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง ผู้จะซื้อ ผิดสัญญาล้วนๆ)
https://www.facebook.com/housecondolawyer/posts/174087660809513

ควรจะเอาข้อกฎหมาย ไปคุยกับโครงการเอง หรือไม่?

เพื่อประหยัดค่าทนายความ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ว่าอย่างนั้น 555 (T T)

ทนายบ้าน และคอนโด เราไม่แนะนำให้ทำอย่างนั้นครับ เพราะคนที่ท่านสมาชิกจะไปคุยด้วย เป็นใคร?? เขา คือ เจ้าของบริษัทฯ หรือนักกฎหมาย ที่มีอำนาจตัดสินใจ หรือไม่? โดยมาก คือ พนักงานขายโครงการที่เชียร์ขายให้ท่านสมาชิก ซึ่งเขาย่อมคิดว่า ท่านสมาชิก กำลังทำให้เขาเสียเวลา และจะถูกเรียกคืน ค่าคอมมิชชั่น ย่อมต้องทำการดึงเรื่อง

อีกทั้ง ในบางโครงการที่หัวหมอ (เชื่อเถอะครับ ผู้พัฒนาโครงการไม่ได้เจอเคสคุณคนเดียว เขามีวิธีรับมือ และสร้างช่องโหว่ระดับมืออาชีพกันทั้งนั้น) เขาจะเริ่มทำการตั้งรับ หลอกล่อท่านด้วย ข้อเสนอบางอย่าง ให้เซ็นเอกสารที่ทำให้ท่านสมาชิกเสียเปรียบมากๆ หากต้องไปดำเนินการต่อในชั้นศาล เช่น เสนอ สิทธิพิเศษ ส่วนลด บัตรลดตลอดชีพ (แต่ไม่คืนเงิน ใช้ได้ ชื่อคุณคนเดียว) หรือหลอกล่อ คุยแชทกับท่านเก็บไว้ใช้เป็นพยาน หลักฐานในชั้นศาล โดยที่ท่านไม่รู้ตัว ซึ่งเมื่อคดีถึงชั้นศาล ท่านจะเสียเปรียบมากๆ เคยมีกรณีให้เห็น ถึงขั้นยกคำร้อง เพราะฟ้องผิด ก็มีปรากฏ หรือหลังจาก ยื่นฟ้องแล้ว ทางโครงการมาเสนอคืนเพียง 50% ท่านสมาชิกไม่ปฏิเสธ หรือส่งให้ทนายความที่รับผิดชอบคุยแทน ก็ถูกบันทึกมาต่อรองที่ชั้นศาล

จึงขอให้ท่านสมาชิก โปรดระวัง หากตัดสินใจไม่รับโอน จะเรียกเงินคืนแน่ ๆ ขอให้ปรึกษาทนายความก่อน และให้ทางทนายที่รับมอบหมาย เป็นผู้คุยเจรจากับโครงการเอง (ซึ่งเราจะแจ้งทุกครั้ง เมื่อมีการรับผิดชอบคดีแล้ว)

Scroll to Top