ต่างชาติกับ การซื้อคอนโด (ตอนที่ 2)

💝💝💝 ตามที่ได้สัญญาไว้ว่าเราจะกลับมาพร้อมกับเรื่องเอกสารที่คนต่างด้าวจำเป็นต้องเตรียมเพื่อการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งเอกสารที่ใช้นั้นจะแตกต่างกันไปตามประเภทของบุคคลต่างด้าว 🤔
แต่โดยทั่วไปแล้ว ต่างด้าวที่อยากจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในคอนโดนั้นจะต้องเตรียมเอกสาร ดังต่อไปนี้

  1. หนังสือเดินทาง
  2. ใบปลอดหนี้จากนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งต้องให้ทางผู้จะขายติดต่อให้ เพื่อชำระค่าใช้จ่ายที่คงค้างทั้งหมด
  3. หนังสือแสดงอัตราส่วนกรรมสิทธิ์คนต่างด้าวของอาคารชุดจากนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งต้องให้ทางผู้จะขายติดต่อให้อีกเช่นกัน
  4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ซื้อ อันนี้ใช้เฉพาะกรณีที่ตัวผู้ซื้อไม่ได้มาพบเจ้าหน้าพนักงานที่ดินด้วยตัวเอง
  5. ในกรณีที่ผู้ซื้อเป็นบริษัท ไม่ว่าจะจดทะเบียนในไทยหรือต่างประเทศ เอกสารในข้อ 1. ให้เปลี่ยนเป็นหนังสือรับรองบริษัท พร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการ รายชื่อผู้ถือหุ้น ข้อบังคับบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ และรายงานการประชุมกรรมการหรือการประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติการซื้อคอนโดดังกล่าว
    ❗แต่แน่นอน กว่าจะได้กรรมสิทธิ์ในคอนโดไปทั้งที เอกสารเท่านี้ย่อมไม่เพียงพอ นี่ เมืองไทยนะ 😅
    จากที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่แล้วว่าการที่กฎหมายได้แบ่งประเภทของบุคคลต่างด้าวออกเป็น 5 ประเภทนั้น บุคคลต่างด้าวแต่ละประเภทก็มีเอกสารเพิ่มเติมที่กฎหมายต้องการให้เตรียมด้วย ได้แก่
  6. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในไทย ก็ต้องแสดงใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตม.15 ตม.16 หรือ ตม.17)
  7. คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทยจากการส่งเสริมการลงทุน ก็ต้องแสดงบัตรส่งเสริมการลงทุน
  8. บริษัทจดทะเบียนในไทยแต่มีลักษณะเป็นบุคคลต่างด้าวเพราะจำนวนผู้ถือหุ้น หรือจำนวนหุ้นที่ถือ ต้องแสดงหนังสือรับรองบริษัทที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ และอาจมีการสอบสวนผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยถึงที่มาของเงินที่นำมาลงทุนในบริษัท
  9. บริษัทที่มีลักษณะเป็นบุคคลต่างด้าวเพราะลักษณะของทุนจดทะเบียนหรือเงินลงทุนในบริษัท และได้รับการส่งเสริมการลงทุน ต้องแสดงบัตรส่งเสริมการลงทุนประกอบการรับโอน
  10. คนต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในไทย และไม่มีบริษัทในไทย ต้องแสดงหลักฐานว่ามีเงินเพียงพอต่อการซื้อคอนโดนั้น 😲😲😲
    ‼กรณีตามข้อ 5. เป็นอีกหนึ่งจุดที่ทำให้ต่างด้าวหลายคนต้องเสียเวลาไปเตรียมตัวกันใหม่ เพราะความไม่เข้าใจในรายละเอียดที่กฎหมายกำหนดไว้ หลักฐานเรื่องเงินที่นำมาซื้อคอนโดตามกฎหมายนั้นไม่ใช่ว่าแค่โอนเงินเข้ามาในประเทศไทย หรือโชว์ Statement ธนาคารก็จะใช้เป็นหลักฐานได้ แต่ตัวหลักฐานจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 😉😊
  11. เป็นหนังสือรับรองจากธนาคารที่แสดงถึงการโอนเงินในสกุลเงินต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร (โอนเข้ามาเป็นเงินบาทไม่ได้) หรือ เป็นการถอนเงินจากบัญชีเงินบาทในต่างประเทศ หรือ เป็นการถอนเงินจากบัญชีเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ในบัญชีที่ไทย
  12. ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการโอนเงินหรือถอนเงินข้างต้นอย่างชัดเจนว่า เพื่อการซื้อคอนโดเลขที่เท่าไหร่ ในโครงการอะไร และมีราคาซื้อขายทั้งหมดกี่บาท
  13. ยอดเงินที่โอนหรือถอนมานั้นจะต้องไม่น้อยกว่าราคาซื้อขายที่ระบุไว้ (เคยเจอว่า มากไป ก็ไม่ได้เหมือนกันนะ เอ้อ 😅 แบบคอนโด 3 ล้าน แต่ใบรับรองมา 5 ล้าน ให้มากกว่านิดหน่อยพอ)
    🎈🎈🎈มีหลายครั้งที่คนต่างด้าวไม่ทราบในเรื่องนี้แล้วโอนเงินเข้ามาโดยไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด หรือโอนเงินเข้ามาในสกุลเงินบาทโดยตรง ส่งผลให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ต้องโอนเงินทั้งหมดกลับไปต่างประเทศก่อนจะโอนเข้ามาใหม่อีกครั้งในสกุลเงินต่างประเทศ เรียกได้ว่าเสียทั้งเวลา และเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกรอบด้วย 😭😭😭

💚💚 ความวุ่นวายในการเตรียมเอกสารยังไม่จบเพียงเท่านี้ เป็นต้นว่า ถ้ามีการทำหนังสือมอบอำนาจมาจากต่างประเทศ หนังสือมอบอำนาจต้องมีการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือถ้าบุคคลต่างด้าวผู้ซื้อมีคู่สมรสเป็นคนไทย ก็จะต้องมีการเตรียมเอกสารของคู่สมรสเพิ่มเติม และในกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินมีความสงสัยในเอกสาร ข้อเท็จจริง หรือหลักฐานใด ๆ ที่เราจัดเตรียมมา เจ้าพนักงานที่ดินอาจมีการสอบถามในเรื่องดังกล่าวได้ (สรุป ต้องใช้ระบบ UTM ควบคู่ไปด้วย ใช่ไหมเนี่ย??? 😮😮😮)

อ่านมาถึงตรงนี้ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดกำลังสนใจจะซื้อคอนโด แต่ไม่แน่ใจในการเตรียมเอกสารแล้วละก็ สามารถติดต่อมาขอคำปรึกษาหรือใช้บริการของทางทีมงานได้เลยนะคะ 😉😉😉

💖💖💖 ทนายบ้าน และคอนโด 💖💖💖
“ดูแลคุณด้วยใจ ปกป้องสิทธิให้คุณด้วยกฏหมาย”

Scroll to Top