💔 ครั้นรักกันการ “เปย์” ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เมื่อหมดรักจะทำอย่างไร
ความรักเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ทำให้ใครหลายคนมีความสุขและความทุกข์ได้เสมอ ครั้นมีความสุขหลายๆคนก็อยากแบ่งปั้นความสุขให้กับคนที่เรารักผ่านทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งทางกฎหมายจะเรียกว่า “การทำนิติกรรมการให้โดยเสน่หา”
ความหมายของการให้โดยเสน่หา ตามประมวงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 ได้วางหลักไว้ว่า สัญญาที่ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้แก่ผู้รับโดยเสน่หาแก่บุคคลหนึ่ง ที่เราเรียกกันว่า “ผู้รับ” โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อาทิเช่น แฟนหนุ่มยกบ้านพร้อมที่ดินให้แก่แฟนสาวโดยเสน่หา โดยการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานทิดิน โดยที่แฟนสาวไม่ได้จ่ายอะไรเป็นการตอบแทนแฟนหนุ่ม ลักษณะนี้เรียกว่า “การให้โดยเสน่หา”
ในกรณีที่เลิกกัน แล้วแฟนหนุ่มคนนั้นอยากได้ทรัพย์สินของตัวเองคืน แบบนี้แฟนหนุ่มจะไปบังคับเรียกร้องเอาบ้านพร้อมที่ดินคืนไม่ได้ เนื่องจากการให้โดยเสน่หา เมื่อได้ให้กันแล้วก็ไม่สามารถถอนคืน หรือเรียกคืนได้ หากการให้นั้นทำโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ยกเว้นแต่ต้องมีการขอเพิกถอนนิติกรรมกันก่อน ซึ่งสามารถทำได้หากผู้รับนั้น “ประพฤติเนรคุณ” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 ระบุไว้ว่า การประพฤติเนรคุณ ต้องมีลักษณะดังนี้
- ผู้รับ ทำการประทุษร้ายต่อ ผู้ให้ ตามประมวลกฎหมายอาญา เช่นการทำร้ายร่างกาย
- ผู้รับ ทำให้ ผู้ให้ เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาท ผู้ให้ อย่างร้ายแรง
- ผู้รับ บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีพแก่ ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับนั้นอยู่ในความสามารถจะให้ได้
ระยะเวลาในการฟ้องร้อง หรืออายุความในการเพิกถอนการให้โดยเสน่าหา เริ่มตั้งแต่ 6 เดือนที่รับรู้ว่ามี “การประพฤติเนรคุณ” ถึง 10 ปีนับจากเหตุประพฤติเนรคุณ 6 เดือนนับแต่รู้ หรือภายใน10 ปีนับจากเหตุประพฤติเนรคุณนั้นได้เกิดขึ้น
💖💖💖 ทนายบ้านและคอนโด 💖💖💖
ตัวจริง…รู้จริง เรื่องกฎหมายอสังหาริมทรัพย์
ดูแลคุณด้วยใจ ปกป้องสิทธิให้คุณด้วยกฎหมาย
ปรึกษาเบื้องต้น ฟรี!!