กู้ไม่ผ่าน โควิด-19 ทำให้ตกงาน สารพัดปัญหา ทำให้ ไม่มีความสามารถโอน กู้ หรือผ่อนชำระ
(คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง ผู้จะซื้อ ผิดสัญญาล้วนๆ)
กลับมาอีกหลายครั้งกับปรากฏการณ์ สมาชิกปรึกษาแล้วอยากมั่นใจ 😅😅😅 ว่าได้เงินคืน 100% หรือไม่?
แอดฯเข้าใจว่า สมาชิกทุกท่าน ที่มาปรึกษา มีความร้อนใจ แต่อย่างที่เคยแจ้งไว้ครับ ด้วยจรรยาบรรณ และมรรยาท ทีมทนายบ้าน และคอนโด ไม่สามารถพูด หรือฟันธง อย่างนั้นได้ 🙄🙄🙄
แต่ละเคส แต่ละผู้ประกอบการ อาจมีรายละเอียด และข้อเท็จจริงแตกต่างกันไป ทีมทนายความบ้าน และคอนโด จะวิเคราะห์ และอธิบายเนื้อความ ตามข้อเท็จจริงให้ท่านทราบ ก่อนรับเคส โดยไม่มีหมกเม็ด 🙂🙂🙂
สถิติ จากคำพิพากษาศาลฎีกา คดีผู้บริโภค “ไม่เคยมีเคสไหน ศาลให้ริบเงินได้ทั้งหมด” ต่อให้ เราในฐานะผู้จะซื้อ เป็นผู้ผิดสัญญา ครับ 🤔🤔🤔
แต่ในกรณี ผู้ประกอบการผิดสัญญา เราสามารถเรียกคืนได้หมด ทั้งจอง ทำสัญญา และดาวน์ ค่าใช้จ่าย พร้อมดอกเบี้ย ต้องเอารายละเอียดมาดูกัน 🙂
ถ้าใครติดตามบทความที่ผ่านมา กระบวนการมันมี ขั้นตอนตามปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ความเก่งกาจเฉพาะตัวของทนาย ไม่จำเป็นต้อง “ตีกิน” หรืออวดอ้าง แต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นไปตามตัวบทกฏหมายที่ทุกคนทราบอยู่แล้ว
แอดฯ ขอเอา คำพิพากษาศาลฎีกา (ย่อสั้น) บางส่วน ที่โจทก์ (ผู้้จะซื้อ) ผิดสัญญา มาให้สมาชิกทุกท่าน ได้ศึกษา เป็นตัวอย่างกัน 🙂🙂🙂
บอกไว้ก่อน เพจ “ทนายบ้าน และคอนโด” ไม่ใช่ที่แรก ที่นำฎีกามาวิเคราะห์ หรือโพส มีทนายความ อัยการ ผู้รู้ ได้นำมาวิเคราะห์ หลายต่อ หลายครั้งแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อย่างใด แต่เนื้อความ อาจเข้าใจยาก สำหรับปุถุชน อย่างเรา 😅😅😅
เนื่องจาก ต่อไปนี้ จะเป็น คำพิพากษาศาลฎีกา (ย่อสั้น) ซึ่งมีความยาวพอสมควร แอดฯ ขอสรุปให้ฟังตามความเข้าใจของแอดฯ แบบคนธรรมดา ส่วนการวิเคราะห์ในเชิงกฏหมาย โปรดสอบถาม ทีมทนายบ้าน และคอนโด เพิ่มเติมให้ฟังนะครับ ตอนปรึกษาเคส หรือท่านสมาชิก นำหมายเลขคำพิพากษา ไป Search ได้ มีทนายความ ผู้รู้ ได้อธิบายไว้หลายบทความ 😉😉😉
💘💘💘 โดยเนื้อความพิพากษา สรุป ว่า
- เงินดาวน์ไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเกิดหลังสัญญาจะซื้อจะขายได้ทำแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของราคาสินค้า เมื่อเลิกสัญญาต่อกัน ต้องคืน ริบทั้งหมดไม่ได้
- กรณีที่จะต้องริบมัดจำ ถ้ามัดจำนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะปรับลดก็ได้ ให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริงก็ได้
มี กรณี บางผู้ประกอบการรู้แนว จะให้ทำสัญญาวางมัดจำ และค่าทำสัญญาไว้สูงมาก ก็อาจไม่สามารถยึดได้ทั้งหมด รวมถึงกรณี ผู้ลงทุน 🧐🧐🧐
ค่าปรับนี้ อาจกินเข้าไปในส่วนของเงินดาวน์ก็ได้ หรือบางส่วน / ทั้งหมดของเงินมัดจำ จอง และทำสัญญา – อาจเหลือทอนเงินจอง และทำสัญญา ถ้าชำระไว้เยอะ
ถ้าใครบอกว่า “ได้ดาวน์คืน 100%🍓” ถามให้ชัวร์ก่อนครับ ว่า ได้เต็มมูลค่า 100% หรือแค่ อ่อ ได้ดาวน์คืนแน่ๆ 100% แต่ไม่รู้ว่า “ได้เท่าไหร่ กันแน่?” แค่พูดตีกิน เฉยๆ 🤨🤨🤔 และกรุณาอย่าอวดอ้างว่า “ชนะคดี” ถ้าแค่ไปเจรจายอมความกับ Developer เพราะมัน คือ “การโกหก” ครับ 😂😂😂 - การเขียนในสัญญาว่า “ริบเงินทั้งหมดได้” เป็นสัญญาไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะถ้าเป็นโครงการจัดสรร หรืออาคารชุด ที่มีการควบคุมสัญญามาตรฐาน จะมีผลทำให้เงื่อนไข เป็นโมฆะ เฉพาะข้อนั้นๆ แต่สัญญาทั้งฉบับ ยังมีผลอยู่ ไม่ได้ยกเลิก ทั้งฉบับ
แต่ละเคส ต่างกรรมต่างวาระ ต้องพิจารณาเป็นกรณีไปครับ
ถ้ามีข้อสงสัย หรือปรึกษา Inbox ทีมทนายบ้าน และคอนโด ครับ 🙂😁😁
♎♎♎ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10115/2556
คดีนี้จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาเนื่องจากไม่สามารถหาเงินมาชำหนี้ส่วนที่เหลือแก่จำเลยได้ และเงินจำนวน 50,000 บาทที่จำเลยวางไว้ในวันทำสัญญาจองและเงินจำนวน238,000 บาท ที่จำเลยวางไว้ให้แก่โจทก์ในวันสัญญาจะซื้อจะขายนั้นมีลักษณะเป็นเงินมัดจำ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิริบส่วนนี้ได้ ส่วนเงินที่โจทก์ชำระ ได้ให้แก่จำเลยอีก 2 งวด งวดละ 238,500 รวมเป็นเงิน 477,000บาท นั้นมิใช่มัดจำเนื่องจากเป็นเงินที่โจทก์ชำระหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายกันแล้ว จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการชำระราคาค่าบ้านและที่ดินเงินส่วนนี้จึงถือเป็นเงินดาวน์ไม่ใช่เงินมัดจำแต่อย่างไรก็ดีตามสัญญามีข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิริบเงินดาวน์ส่วนนี้ได้หากโจทก์ผิดสัญญา เงินดาวน์ส่วนนี้จึงถือเป็นเบี้ยปรับที่จำเลยมีสิทธิริบจากโจทก์เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
แต่อย่างไรก็ตามแม้จำเลยมีสิทธิริบเงินมัดจำจำนวน 238,000 บาท และเบี้ยปรับจำนวน 477,000 บาท ได้ดังกล่าว แต่ในส่วนของมัดจำหากมีกรณีต้องริบและมัดจำนั้นสูงเกินส่วน ตามพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 7 บัญญัติให้อำนาจศาลลดลงให้ริบได้เพียงเท่าความเสียหายที่แท้จริง ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ส่วนเบี้ยปรับนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ได้ให้อำนาจศาลในการปรับลดอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อได้คำนึงถึงทางได้เสียหายทุกอย่างของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยมีสิทธิรับมัดจำและเบี้ยปรับรวมเป็นเงิน 150,000 บาท นั้นเหมาะสมแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
♎♎♎ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9514/2544
แม้โจทก์จะได้วางเงินจำนวน 55,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินก็ตาม แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นเงินมัดจำไปเสียทั้งหมด ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีเป็นสำคัญ เมื่อเจตนาของโจทก์และจำเลยปรากฏชัดแจ้งอยู่ในสัญญาแล้วว่าให้ถือเป็นเงินดาวน์ จึงต้องถือว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินพร้อมทาวน์เฮ้าส์ ส่วนเงินดาวน์ที่โจทก์ผ่อนชำระไปแล้วอีก 10 งวดจำนวน 87,000 บาท นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เงินมัดจำ เพราะเป็นเงินที่ผ่อนชำระกันหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพร้อมที่ดินแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจะริบเงินเหล่านี้โดยอ้างว่าเป็นเงินมัดจำที่อาจริบตามกฎหมายไม่ได้
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 9 ระบุว่าหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามที่ระบุในสัญญา ให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญาและยินยอมให้จำเลยริบเงินที่ชำระไว้แล้วทั้งหมด กับให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิกกันทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ผลคือสัญญาเลิกกัน เงินที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยดังกล่าวเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 แม้เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนเพื่อกลับสู่ฐานะเดิมข้อตกลงให้ริบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ ส่วนที่ตกลงกันไว้ในตอนท้ายของสัญญาข้อ 9 อีกว่า หากโจทก์ผู้จะซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินตามสัญญาอีกยอมชำระค่าปรับให้แก่จำเลยผู้จะขายต่างหากเป็นเงินครั้งละ 10,000บาท ก็เป็นเบี้ยปรับเช่นกัน แต่ที่กำหนดไว้ในสัญญาให้เรียกได้อีกนั้นเป็นการซ้ำซ้อน จึงไม่กำหนดเบี้ยปรับให้แก่จำเลยอีก
♎♎♎ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2547
โจทก์ชำระเงินจำนวน 30,000 บาท ให้แก่จำเลยในวันจอง และจำนวน 120,000 บาท ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน ดังนั้น เงินจำนวน 150,000 บาท จึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้ให้แก่จำเลยแล้วในวันทำสัญญา เพื่อให้จำเลยยึดไว้เป็นการชำระหนี้บางส่วนและเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญาจึงถือเป็นมัดจำ ส่วนหลังจากวันทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว โจทก์ยังผ่อนชำระให้แก่จำเลยรวม 12 งวด เป็นเงิน 840,000 บาท ย่อมไม่อาจถือเป็นมัดจำ แต่เป็นเพียงการชำระราคาบ้านและที่ดินบางส่วน ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงเป็นอันเลิกกัน จำเลยจึงมีสิทธิริบมัดจำจำนวน 150,000 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (2) และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกัน เงินที่โจทก์ชำระค่าบ้านและค่าที่ดินบางส่วนดังกล่าวต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 การที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยบอกเลิกสัญญาแล้วให้เงินที่โจทก์ชำระมาแล้วทั้งหมดตกเป็นของจำเลยได้นั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และถ้าเบี้ยปรับสูงเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้
คดีลักษณะ แบบนี้ ส่วนมาก ไปไม่ถึงศาลฎีกาครับ โดยเฉพาะถ้าผู้ประกอบการเป็นผู้ผิดสัญญา ล่าช้า ก่อสร้างไม่ตรงแบบ ฯลฯ
แต่ที่แอดฯ ยกคำพิพากษา มา ข้างต้น คือ ผู้จะซื้อเป็นผู้ผิดสัญญาล้วนๆ😉😉😉
ขอแค่ อย่าโกหกศาล ครับ เพราะโดนสั่งริบหมด มีให้เห็นแล้ว และผู้ประกอบการ เอามาอ้าง ตีข่าว เอามาขู่กัน ซึ่งไม่ใช่เคส แนวปกติครับ 😲😲😲
💖💖💖 ทนายบ้าน และคอนโด 💖💖💖
“ดูแลคุณด้วยใจ ปกป้องสิทธิให้คุณด้วยกฏหมาย”