สัญญาไร้รูปแบบ โครงการต้องรับผิดชอบ

การโฆษณาใด ๆ ของบุคลากรในบริษัทผู้ประกอบธุรกิจ แม้ภายหลังมิได้มีข้อความดังกล่าวระบุในสัญญาจะซื้อจะขายก็ตาม สามารถถือเอาได้ว่าการโฆษณานั้น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย เพราะถือเป็นเหตุหนึ่งในการจูงใจผู้บริโภคในการเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขาย 🧐🧐🧐

บุคลากรที่ว่า หมายรวมถึง พนักงานขาย Sale โครงการ ทั้งที่ประจำ หรือไม่ประจำ หรือจัดจ้างมา เช่น โครงการจัดจ้าง Sole Agent ให้มาช่วยขาย คำพูดใดใดๆ ที่ออกมา เอกสารประกอบ ใบปลิว แบบ Model ล้วนมีผลผูกพันกับ Developer จะถือว่าไม่เกี่ยวข้อง ปัดความรับผิดชอบไม่ได้ แม้ไม่ได้อยู่ในสัญญาจะซื้อจะขาย ก็ตาม

🚩🚩 เพราะสิ่งนี้ คือ “สัญญาไร้รูปแบบ” นั้นเอง 🚩🚩

ท่านสมาชิกทราบ หรือไม่? ว่า ความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย บ้านเรา หลายครั้ง มันไม่ได้มีอยู่จริง!!! (เดี๋ยวๆ ไม่ได้ชวนให้ชู 3 นิ้ว😅) แต่เป็นเจตนาของคนร่างกฎหมาย ที่ทำให้ไม่เท่าเทียมกัน เพื่อความยุติธรรม ให้เกิดความเสมอภาคในการต่อสู้คดีทางด้านกฎหมาย 🤔🤔

เนื่องจาก บัญญัติบนแนวคิด ความเท่าเทียมกันของคู่สัญญาและเสรีภาพในการทำสัญญา ซึ่งคู่กรณีมีหน้าที่ต้องระวังและรักษาสิทธิของตนเอง แต่ในความเป็นจริง ผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะเจ้าของโครงการ Developer มีพลังเหนือกว่าฝ่ายผู้บริโภค ความเท่าเทียมกันที่เป็นแนวคิด ดังกล่าวจึงดูจะไม่อาจให้ความยุติธรรมแก่ผู้บริโภคที่อ่อนพลังต่อรองกว่าได้ ซึ่งหลายครั้ง ไม่รู้เท่าทันเทคนิคการตลาดของผู้ประกอบการ

💖💖 เป็นที่มาของเจตรมย์ในการร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 💖💖

ซึ่งโดยสรุป ก็คือ ทำให้ผู้บริโภคมีความเท่าเทียม จนถึงเหนือกว่าผู้ประกอบการ ในการพิจารณาคดีผู้บริโภค นั้นเอง 😃😃 (แต่จนแล้ว จนรอด แอดฯ ว่า ผู้บริโภค ก็ยังเสียเปรียบอยู่ดี เพราะรู้ไม่เท่าทัน ผู้ประกอบการ รวมถึงหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย ก็ไม่เป็นใจ ต้องให้เรื่องถึงศาล ทุกทีสิน่ะ เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังตอนจบ 😅😅)

“มาตรา 11 ประกาศ โฆษณา คำรับรอง หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าผู้ประกอบธุรกิจตกลงจะมอบให้ หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของบริการ หรือสาธารณูปโภคอื่นใด หรือจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้บริโภคเข้าทำสัญญา หรือข้อตกลงใดๆ ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ ให้ถือว่าข้อความ การกระทำหรือข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคล หรือพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าการทำสัญญาเช่นว่านั้นกฎหมายจะกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ และไม่ปรากฏข้อตกลงนั้นในหนังสือที่ได้ทำขึ้นก็ตาม”

หมายถึง “สัญญาไร้รูปแบบ” ที่ไม่จำเป็นต้องมีระบุ หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ก็สามารถบังคับให้ผู้ประกอบการ กระทำตามสัญญาได้ ซึ่งมีฎีกาอ้างอิง หลากหลายกรณี ทั้งสัญญาว่าจะให้ของแถม, พื้นที่ส่วนกลาง, ทางเดิน ทางเชื่อมสาธารณะ ซึ่งศาลตัดสินให้ผู้บริโภคชนะ ทั้งสิ้น 😊😊

🧨🧨🧨 แต่ อย่างที่แอดฯเคยบอกครับ เรารู้ Developer ก็ทราบ หลายรายทำตรงไป ตรงมา เราขอยกย่อง ซึ่งปัญหา การทำให้ผู้บริโภค เข้าใจผิด ก็ลดน้อยไปพอสมควร แต่ที่น่าตำหนิ คือ มี Developer บางราย เจตนาตอแหล ทำให้ ผู้บริโภคเข้าใจผิด และกลบเกลื่อนเอาตัวรอดนี่สิ ช่างหน้าไม่อายจริงๆ ☹☹☹

ช่องโหว่ ปัญหาของเรื่องนี้ คือ

  1. ขอบเขตอำนาจของผู้ประกอบการที่จะปฎิบัติตามคำสัญญา หรือโฆษณา หรือเอาง่ายๆ เข้าข่ายโม้ โกหกกันหน้าด้านๆเลย เช่น จะมีร้านกาแฟมาเปิดหน้าโครงการ (ซึ่งไม่ได้เป็นที่โครงการ), โฆษณาว่า ด้านหน้าจะพัฒนาเป็นอาคาร 3-4 ชั้นเตี้ยๆ แต่กลับกลายเป็นตึก 30 ชั้น ด้านหน้า บังวิว ซะงั้น แถมมีก่อสร้างตลอดปี คนซื้อไปก่อน หลังหักกันเป็นแถว หลอกแม้กระทั้ง โมเดลโครงการ ก็เคยเห็น แต่ สคบ. บอกว่า อยู่นอกพื้นที่จัดสรร ทั้งที่บริษัทเดียวกัน เลยไม่สามารถบังคับใช้ได้ (เคสนี้ แอดฯมองว่า เจ้าของร่วมขาดคนแน่จริง ฟ้องร้องนะ หลักฐานโคตรชัด 😐😐), สะพานรถไฟฟ้าที่กำลังสร้างจะทอดมาถึงด้านในโครงการ (ทั้งที่อยู่ห่างเป็น 100 เมตร เนี่ยนะ??) หรือแม้กระทั้ง เดี๋ยวคอนโดเสร็จ มัสยิดข้างๆบอกว่าจะหยุดสวด ก็มี (มีจริงๆนะเฮ้ยยย!!! 😲😱😱)

คือ เป็นอะไรที่นอกเหนือ การควบคุมของผู้ประกอบการ ฝ่ายขาย ก็ตอแหลไปเรื่อย (มีคนบอกว่าแรงไป แต่แอดฯ หาคำเหมาะกว่านี้ ไม่เจอ โกหก มันเบาไปหน่อย 😅) เตือนท่านสมาชิกได้อย่างเดียว ต้องระวัง‼ ใช้สติมากๆ เวลาฟังครับ ดูความเป็นไปได้ด้วยนะครับ 😅😅😅

🧨🧨 ถ้าเป็นก่อนโอน เราสามารถติดต่อทนายบ้านและคอนโด ยกเลิกสัญญา เพราะ Developer ผิดสัญญา เรียกคืนเงินได้เต็มจำนวน พร้อมดอกเบี้ย แต่ถ้า โอนไปแล้วล่ะ??? ทำยังไง? 😦😦

  1. การหาหลักฐาน พยานอ้างอิง หลายครั้งเป็นแค่วาจา คำบอกเล่า หาหลักฐาน หรือพยาน ค่อนข้างยาก

📌📌 เรื่องเล่า ของ Developer รายหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ (ทายถูกไม่มีรางวัล แค่เดี๋ยวแวะไปให้ แอดฯ เลี้ยงกาแฟ 😋😋) – เรื่องเล่าต่อไปนี้ เป็นหนึ่งในความตอแหลของอีกหลายๆเรื่อง 😒😒

เจ้าของร่วม : ไหนบอกว่า มัสยิดจะหยุดสวด? อาคารด้านหน้าเป็น community mall แค่ 3-4 ชั้น ไง? ทำไมเป็นตึก 30 ชั้น 🤔🤔😫

พนักงานโครงการ A (นามสมมติ) : ใครบอกคะ? 😊

เจ้าของร่วม : น้อง B (นามสมมติ) sale ที่ขายให้พี่ไง?

พนักงานโครงการ A (นามสมมติ) : อ่อ น้องเขาลาออกไปแล้วคะ 😎😎

ด้วยความที่มีข้อข้องใจหลากหลาย เจ้าของร่วม จึงไปดักพบ ประธานบริษัทฯ ที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งไม่เคยได้พบ (ทราบมาว่า มีประตูทางออกลับ) แต่ดันพบกับ……พนักงาน B 😲😲

เจ้าของร่วม : อ้าว …. B ไหนบอกว่า ลาออกไปแล้วไง?

พนักงานโครงการ B : อ่อออออออออ (ยาวเพราะน่าจะนึกคำแถ) ลาออกจากโครงการที่พี่ซื้อ ไปขายอีกโครงการของบริษัทคะ 😅😅😜

เจ้าของร่วม : ………….. (แหมมมม ทำไปได้ 😶😶)

เรื่องข้างต้น เป็นเรื่องสมมติ ที่เหมือนจะอ้างอิงจากเรื่องจริง เป็นข้อเตือนใจ ท่านสมาชิก ว่า เขากล้ากัน ขนาดไหน? 😅😅

ดังนั้น หากท่านสมาชิก จะไว้วางใจซื้อโครงการ เพราะคำโฆษณาอะไร ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร สมควรหาวิธีบันทึกเก็บไว้ หาพยานให้เรียบร้อย ตลอดจนพิจารณาถึงความเป็นจริง ว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการ หรือตัวแทน กล่าวมา มีขอบเขตอำนาจกระทำ ได้ หรือไม่? เชื่อถือได้แค่ไหน? เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาทีหลัง 🙂🙂

💖💖 เราต้องปกป้องตัวเองจากคำโกหกด้วยสติ 💖💖

🎈🎈🎇 อย่าลืม Like กดติดตาม เพื่อที่จะได้ไม่พลาด บทความ และความรู้ด้านกฎหมายอสังหาฯ ที่ใช้ได้จริงจากเรา 🤗🤗

💖💖💖 ทนายบ้าน และคอนโด 💖💖💖

“ดูแลคุณด้วยใจ ปกป้องสิทธิให้คุณด้วยกฏหมาย”

Scroll to Top