🎈🎈เป็นที่รู้กันว่าประเทศไทยนั้นไม่อนุญาตให้ต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่สำหรับคอนโดแล้ว ต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในคอนโดได้ โดยอ้างอิงมาจากพระราชบัญญัติอาคารชุดมาตรา 19 ทวิ ที่อนุญาตให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดในอาคารนั้น 🤔🤔
คำว่า 49% ของเนื้อที่ห้องชุดของอาคารนั้น คำนวณจากเนื้อที่ของห้องชุด ซึ่งหมายถึง “ส่วนของอาคารชุดที่แยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วนเฉพาะบุคคล” หรือก็คือไม่ให้นับรวมพื้นที่ส่วนกลางนั่นเอง การคำนวณเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารกรณีที่โครงการมีหลายอาคารนั้นก็ต้องดูว่า ทางโครงการได้ทำจดทะเบียนอาคารชุดไว้อย่างไร เนื่องจากการคำนวณเนื้อที่ในส่วนนี้จะอิงจากขนาดของโครงการตามที่ได้มีการแจ้งกับเจ้าหน้าที่ไว้
💙💚💚 ประเด็นถัดมาคือเรื่องของประเภทของคนต่างด้าว ซึ่งตามกฎหมายสามารถแบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่
- บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยได้ ซึ่งกลุ่มนี้หมายถึงคนที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตม.15 ตม.16 ตม.17) จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- บุคคลธรรมดาที่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศไทยภายใต้กฎหมายการส่งเสริมการลงทุน
- นิติบุคคลซึ่งผู้ถือหุ้นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าไม่มีสัญชาติไทย (ดูจำนวนต่างด้าวที่ถือหุ้นอยู่) หรือ จำนวนหุ้นของบริษัทที่ถือโดยผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยนั้นมีตั้งแต่ 49% หรือมากกว่า (ดูจำนวนหุ้นที่ต่างด้าวถือ)
- นิติบุคคลที่เป็นต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ซึ่งหมายถึงนิติบุคคลที่ทุนจดทะเบียนของบริษัทกว่าครึ่งหนึ่งถือครองโดยคนที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือหุ้นที่คนที่ไม่มีสัญชาติไทยถืออยู่นั้นมีมูลค่าครึ่งหนึ่งหรือมากกว่าของทุนจดทะเบียนของนิติบุคคลนั้น (ดูจากจำนวนเงินที่ต่างด้าวลงทุนในนิติบุคคลนั้น) ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนภายใต้กฎหมายการส่งเสริมการลงทุน
- คนต่างด้าวที่ไม่ใช่คนตาม 1.-4. แต่ได้นำเงินจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยเพื่อการซื้อคอนโดนั้น
แล้วการแบ่งประเภทของคนต่างด้าวนั้นมีความสำคัญอย่างไร? ส่วนที่สำคัญก็คือ ต่างด้าวแต่ละประเภทนั้นต้องจัดเตรียมเอกสารในการซื้อคอนโดต่างกันไป ซึ่งในตอนหน้า เราจะมาอธิบายถึงเอกสารที่คนต่างด้าวต้องเตรียมเพื่อที่จะใช้ในการรับโอนกรรมสิทธิ์ในคอนโดกับกรมที่ดิน 😉😉😉
💖💖💖 ทนายบ้าน และคอนโด 💖💖💖
“ดูแลคุณด้วยใจ ปกป้องสิทธิให้คุณด้วยกฏหมาย”