การอยู่คอนโดนั้นไม่ใช่เพียงว่าจะเป็นการเดินทาง 🚝ที่สะดวกสบาย ใกล้ห้างสรรพสินค้า🏬 และมีเงินเท่านั้นถึงจะสามารถอาศัยในคอนโดมิเนียมได้อย่างมีความสุข 💸💸อีกทั้งยังมีคนมากหน้าหลายตามาอาศัยร่วมอยู่กับคุณแล้วนั้นยิ่งมากเรื่องเข้าไปใหญ่😖😖😖 ดังนั้นแล้วคุณจะต้องรู้และมีความเข้าใจอีกมากมายในเรื่องต่างๆ แล้วทุกๆท่านรู้หรือไม่ว่าทุกๆท่านมีสิทธิ์ในการจัดการที่อยู่อาศัยของท่านอย่างไร 🤔 🤔ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนตัวในห้องของท่านเอง ยังรวมไปถึงพื้นที่ส่วนกลาง และตัวอาคาร กฎหมายที่จะนำเสนอในวันนี้เป็น 1 ในกฎหมายที่น่ารู้ที่จะเป็นสิ่งที่ปกป้องทุกๆท่านที่ได้อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมได้อย่างอุ่นใจและสบายใจมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นวันนี้จะขอนำเสนอข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ซึ่งว่าด้วยเรื่องของกรรมสิทธิ์ในห้องชุดมาให้ทุกๆท่านได้ทำการศึกษากันค่ะ👩🏻🏫👩🏻🏫
- ตามมาตรา 13 เจ้าของห้องชุดนอกจากจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลที่เป็นของตัวเองแล้วนั้น ก็ยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง เช่น พื้นห้อง ผนังกั้นห้องที่เป็นผนังกั้นห้องที่แบ่งระหว่างห้อง ทรัพย์ในลักษณะนี้เจ้าของห้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับเจ้าของห้องข้างๆระหว่างห้องชุดนั้น แต่ยังไงก็ตามแม้ว่าตนเองมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆแต่ก็ใช่ว่าจะทำได้ทุกอย่างซึ่งการใช้สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวก็ยังต้องไปตามข้อบังคับ เจ้าของห้องจะทำการใดๆที่เป็นกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างความมั่นคงการป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารหรือการอื่นๆตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับไม่ได้ 🙅🏻♀️🙅🏻♀️🙅🏻♀️เช่น จะตั้งโรงงานผลิตสินค้าในห้องชุดของตนเองไม่ได้ เพราะจะสร้างความกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างภายในต่างๆ หรือในกรณีที่มีข้อบังคับของนิติบุคคลได้ระบุไว้ห้ามไว้ไม่ให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เจ้าของห้องนั้นก็ต้องปฎิบัติตามข้อบังคับนั้นๆ👍👍👍
- ตามมาตรา 14 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางที่เป็นเจ้าของร่วมนั้น เช่น ทางเท้า ห้องออกกำลังกาย🏓 ล็อบบี้🛎 เป็นต้น จะเป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างราคาของห้องชุดกับราคารวมของห้องชุดทั้งหมดในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด โดยสิทธิของเจ้าของร่วมทุกคน ได้แก่สิทธิในการใช้สอยทรัพย์นั้นตามวัตถุประสงค์ของทรัพย์นั้นและไม่ขัดขวางการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์คนอื่น ๆ
- ทรัพย์สินต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลาง👫🏻👫🏻 ตามมาตรา 15
3.1 ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด
3.2 ที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
3.3 โครงสร้าง และสิ่งก่อสร้างเพื่อความมั่นคงและเพื่อการป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารชุด
3.4 อาคารหรือส่วนของอาคารและเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
3.5 เครื่องมือและเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
3.6 สถานที่ที่มีไว้เพื่อบริการส่วนรวมแก่อาคารชุด
3.7 ทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน - เจ้าของร่วมต้องร่วมกันจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวม 💰💸เช่นค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะมูลฝอย🗑 ค่าไฟฟ้าส่วนที่ให้ความสว่างแก่ตัวอาคารชุด 🏙เป็นต้น และที่เกิดของเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศอาคารชุดส่วนที่อยู่นอกห้องชุด เป็นต้นนอกจากนี้เจ้าของห้องชุดต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนกลางตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง
นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อกฎหมายน่ารู้ของการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม และเมื่อเราได้รู้ถึงข้อกฎหมาย⚖️⚖️และทำความเข้าใจแล้วก็ทำให้เราสามารถอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมร่วมกันได้อย่างสงบสุข 💕💕เพราะการอยู่ร่วมกันหัวใจและสาระสำคัญของการอยู่ร่วมกันนั้นจะต้องมีความเคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่นที่อยู่อาศัยร่วมกัน จึงจะเกิดความสงบสุขและปราศจากข้อโต้แย้งกัน👫🏻👩🏻🤝👩🏽👨🏼🤝👨🏾
หากท่านผู้อ่านทุกๆท่านได้อ่านมาถึงตรงนี้แล้วและกำลังมองหา หรือมีความสนใจที่จะซื้อคอนโด หากมีขอสงสัยประการใดสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางเพจได้เลยนะคะ🥰🥰🥰
💖💖💖 ทนายบ้าน และคอนโด 💖💖💖
“ดูแลคุณด้วยใจ ปกป้องสิทธิให้คุณด้วยกฏหมาย”