ในหลายคดีที่ดูแล้วว่าไม่น่าที่จะถูกยกฟ้อง หรือมูลเหตุที่ถูกยกมาตั้งเรื่องฟ้องนั้นไม่ถูกนำมาใช้ในการพิจารณาคดี ทำให้โจทย์เสียประโยชน์ในการเรียกร้องสิทธิที่ตนฟ้องร้องนั้น เมื่อมาดูในลายละเอียดของคำฟ้องนั้นพบว่ามูลเหตุในการตั้งฟ้องนั้น มีประเด็นและน้ำหนักที่เป็นเหตุให้ฟ้องร้องได้ แต่การตั้งคำฟ้องนั้นต่างหาก ที่ทำให้มูลเหตุนั้นไม่สอดคล้องและขาดน้ำหนักสำหรับการพิจารณาคดี
ประเด็นที่สำคัญคือ หากนำมูลเหตุที่เกิดขึ้นมาตั้งเรื่องฟ้องผิด จะไม่สามารถนำมูลเหตุเดิมมาฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ ซึ่งมีข้อกฎหมายที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ ข้อห้ามการนำมูลเหตุดังกล่าวนำกลับมาฟ้องใหม่ เพื่อป้องกันคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งปี 2477 แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ๆ ได้แก่
- “ฟ้องซ้อน” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรค 2 วางหลักไว้คือ หากมีการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกัน หรือต่อศาลอื่น ผลคือ หากโจทก์มีการนำมูลคดีเดิมไปฟ้องใหม่จะทำให้เป็นการฟ้องซ้อน เพราะมีคดีมูลเหตุเดียวกัน ข้อเท็จจริงเดียวกัน 2 ศาล คดีที่ยื่นภายหลังย่อมเป็นฟ้องซ้อนซึ่งไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาได้
- “ฟ้องซ้ำ” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า หากคดีใดมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันในคดีเดิมนำมูลเหตุในคดีก่อนหน้ามาฟ้องร้องกันอีกในประเด็นวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกัน
- “การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ” ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว
ซึ่งกล่าวได้ว่าหากต้องการที่จะปกป้องสิทธิของตนเองโดยการฟ้องร้องดำเนินคดีนั้นแล้ว การจะตั้งเรื่องฟ้องโดยนำเอามูลเหตุที่เกิดขึ้นมาฟ้อง ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่ผู้บริโภคสามารถฟ้องเองได้ หากเมื่อฟ้องผิดประเด็นแล้วจะไม่สามารถนำมูลเหตุนั้นมาฟ้องใหม่ได้ ทำให้การที่จะปกป้องสิทธิของตนเองกลายเป็นเสียสิทธิไปนั้นเอง
💖 💖 💖 ทนายบ้านและคอนโด 💖 💖 💖
ตัวจริง…รู้จริง เรื่องกฎหมายอสังหาริมทรัพย์
ดูแลคุณด้วยใจ ปกป้องสิทธิให้คุณด้วยกฎหมาย